ความเป็นส่วนตัว (privacy)

ความเป็นส่วนตัว (privacy)


              ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีส่วนร่วมสำคัญมากมายหลากหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวัน ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร การค้าขาย หรือในด้านบันเทิงเป็นต้น ทำให้ข้อมูลส่วนตัวบางประการถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ  เบอร์โทร ที่อยู่ เลข บัตรเครดิต เลขประจำตัวประชาชนติ ประวัติส่วนตัว หรือข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
                หากข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บไว้เป็นส่วนตัวคงจะไม่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้น แต่หากถูกนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางลบ อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่ตัวเราเองได้
                ความเป็นส่วนตัวเหล่านี้จะถูกพิจารณาจากการเก็บไว้ และการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกแบ่งออกเป็น 3ประเภท ดังนี้
1. ความถูกต้อง เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้เก็บรักษาข้อมูล เพื่อรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้อง
2. สิทธิความเป็นเจ้าของ  เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของผลงานที่สามาเข้าใช้ข้อมูล,เหล่านั้นได้
3. การเข้าถึงข้อมูล เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน

                ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนในหลายมิติ ส่งผลให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวมีลักษณะแตกต่างกันออกไปด้วยซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น ประเภทได้แก่
1. ประเภทแรก คือ ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค เช่น สิทธิในความเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของผู้ให้บริการออนไลน์ของสถาบันการเงิน ห้างร้าน หรือบริษัทประกันชีวิต การส่งต่อหรือซื้อขายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปยังบุคคลที่สาม
2. ประเภทที่สองคือ ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อโจมตีบุคคลที่มีความคิดเห็นต่างกันทางการเมือง หรือใช้วิธีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตเพื่อกลั่นแกล้ง
          นอกจากความหลากหลายของปัญหาแล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นยังสะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวเกี่ยวพันกับสิทธิด้านอื่นๆ ของปัจเจกบุคคลด้วย

ความคิดเห็น